ประโยชน์ของต้มยำกุ้ง
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยที่มีรสชาติจัดจ้านถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ นอกจากจะมีกุ้ัง หรือเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เป็นส่วนประกอบแล้ว เครื่องปรุงของเมนู ต้มยำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ดังนี้
1. กุ้ง
กุ้งจัดเป็นอาหารทะเลที่มีคุณค่าทางอาหาร ด้วยมีโปรตีนและโปรตัสเซียมสูง กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดมีชื่อสามัญ Giant Freshwater Prawnชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobra chium rosenbergii de Man กุ้งก้ามกราม ซึ่งนักบริโภคยกให้เป็น "king of shellfish" มีชื่อเรียกที่รู้จักกันหลายชื่อคือ กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งแห กุ้งใหญ่ และภาคใต้เรียกแม่กุ้ง เป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มีราคาแพง กุ้งเป็นอาหารอันทรงคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูง โปรตัสเซียมสูง อย่างไรก็ตาม กุ้งจัดว่าเป็นอาหารที่มีราคาสูง ยิ่งเมื่อเทียบน้ำหนักส่วนที่กินได้ กับส่วนที่กินไม่ได้ กุ้งมีส่วนที่กินได้ เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักรวม
2. เห็ดฟาง : (volvariclla volvacea)
ประโยชน์ที่ได้จากการนำเห็ดมาทำเป็นอาหารมีมากมายหลายอย่าง เห็ดมีโปรตีนสูง วิตามินเกลือแร่ ธาตุเหล็ก ไฟเบอร์ สังกะสี สารไคติน กรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว และมีพลังงานต่ำ สำหรับผู้ที่ต้องการ จะลดน้ำหนัก สามารถ รับประทาน อาหารที่ทำจากเห็ดได้โดยไม่ต้องกังวลใจ เห็ดมีสรรพคุณทางโภชนาการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนที่มีอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเห็ดแห้ง ที่สำคัญยังเป็นอาหารที่ไม่มีไขมันหรือพลังงานเลย และยังอุดมไปด้วยเกลือแร่ที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการ มีสรรพคุณทางยาหลายชนิด และมีเอ็นไซม์ที่ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
เห็ด นับว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อร่างกายเราเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารที่มีอยู่ในเห็ดโดยรวมแล้วก็จะมีสารอาหารประเภท วิตามินเอ วิตามินบี 2 น้ำ โปรตีน ฯลฯคุณประโยชน์จากเห็ดก็มิใช่ย่อย สามารถปกป้องเราได้มากมาย เช่น1.ป้องกันโรคกระดูกอ่อน2.ใช้บำรุงสำหรับคนที่มีโลหิตน้อย3.รักษาอาการเวียนศีรษะเป็นประจำในผู้หญิง4.บรรเทาไข้หวัด อาการปวดศีรษะ5.เป็นยาอายุวัฒนะ6.แก้ปวดประสาท7.สามารถลดไขมัน ในเส้นเลือดได้หมายเหตุ ห้ามให้เด็กที่ออกหัดหรือเป็นอีสุกอีใสรับประทานเห็ด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดชนิดใดก็ตาม
3. ใบมะกรูด
ประโยชน์ทางอาหาร ใบมะกรูดมีกลิ่นหอม บางคนใช้กลิ่นหอมของมะกรูดดับคาวปลา หรือกลิ่นเนื้อสัตว์ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน โดยเฉพาะต้มยำเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงงของไทย ต้องมีใบมะกรูดเป็นหลักประโยชน์ทางยาแก้ผมร่วง บำรุงผม แก้อาการเป็นลมเพราะอยู่ในที่อับ ให้ดมผิวมะกรูดแก้ไอ เจ็บคอ และเสมหะติดคอ รักษาอาการเล็บติดเชื้อรา แก้อาการท้องอืด ใช้ผิวมะกรุดตำให้ละเอียด ผสมน้ำนิดหน่อย ดื่มรวดเดียวให้หมดแล้วดื่มน้ำตาม
4. ตะไคร้
ชื่อพื้นบ้าน จะไคร้(เหนือ) ไคร้( ใต้ มลายู)คาหอม(ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย เหลอะเกรย ( เขมร-สุรินทร์) หัวสิงไค (เขมร - ปราจีนบุรี) ชื่อสามัญ Lemon grass, Lapine ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus Stapf. ตะไคร้ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น 1 . แก้ปัสสาวะขัด ใช้ต้นสด (ตัดใบทิ้ง) หนัก 30-40 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 75 มิลลิลิตร ( 1 ถ้วยชา ) ก่อนอาหาร ทำเช่นนี้ทุกวัน หรืออีกวิธีหนึ่งนำเหง้ามาฝานเป็นแว่นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ใช้ครั้งละ ๑หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเอาแต่น้ำใส ดื่มจนหมด รับประทานวันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องดีแล้วจึงหยุดยา 2 . แก้อาการท้องอือท้องเฟ้อ ปวดท้องเกร็ง คลื่นไส้อาเจียนจากธาตุไม่ปกติ ใช้ต้นตะไคร้แด่สด ๆ ทุลพอแหลกประมาณ 1 กำมือ ( 40-60 กรัม)ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้เหง้าขนาดเท่าหัวแม่มือ(ใช้สดประมาณ 5 กรัม หรือแห้งประมาณ 2 กรัม )ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้ตะไคร้ทั้งต้น (รวมราก) จำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อนต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้องเกร็ง
5. พริกขี้หนูสด
พริกจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับมะเขือต่าง ๆ และมะเขือเทศ คือ อยู่ในตระกูล Solanaceae พริกที่พบมากในประเทศไทยได้แก่พริกชี้ฟ้า (Capsicum annuum Linn.) พริกขี้หนู (Capsicum frutecens Linn.) และ พริกขี้หนูสวน (Capsicum minimum Roxb.) ซึ่งแต่ละชนิดก็แบ่งย่อยเป็นหลายพันธุ์ สารสำคัญที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อนคือ capsaicin พบได้ในพริกแทบทุกชนิดรวมทั้งในพริกไทยและขิง ในปริมาณที่แตกต่างกันตามชนิดของพริก ซึ่ง capsaicin นี้จะอยู่ที่รกพริก (บริเวณที่เมล็ดพริกเกาะอยู่) และที่ septum ส่วนผนังด้านนอกและเมล็ดไม่มีสารนี้อยู่4 capsaicin เป็นสารที่มีโครงสร้างเป็น vanillyl amide capsaicin ออกฤทธิ์โดยทำให้เกิดการปลดปล่อยของสาร P (substance p) ซึ่งเป็น neurotransmitter ที่ส่งผ่านความรู้สึกปวดจากเซลล์ประสาทไปยังสมอง หลังได้รับ capsaicin ซ้ำ ๆ จะทำให้สาร P หมดไป ทำให้อาการปวดลดลงพริกมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเมื่อรับประทานและเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอก ประโยชน์ของพริกเมื่อรับประทาน พริกใช้รับประทานเป็นยาขับเสมหะ ยาฝาดสมาน ช่วยการย่อย เพิ่มความอบอุ่นในร่างกายและรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อรับประทานพริก ในช่วงแรกควรรับประทานแต่น้อยและค่อย ๆ เพิ่มขนาดจะทำให้ทางเดินอาหารค่อย ๆ ปรับตัวรับความเผ็ดร้อนและความระคายเคืองของพริกโดยการเพิ่มการหลั่งสารเมือกและ สร้างเนื้อเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้นพริกจะลดการเกิดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากท้องอืดท้องเฟ้อพริกยังใช้ป้องกันหวัด อาจเป็นเพราะว่าพริกอุดมไปด้วย betacarotene bioflavonoid และวิตามินซี และยังถูกดูดซึมได้ดี การกินพริกก่อนอาหารหรือพร้อมอาหารจะแก้อาการเบื่ออาหารได้
6. ผักชี
"ผักชี" มีชื่อพื้นบ้านว่า ผักชีไทย ผักชีลี ผักชีลา ผักหอม ผักชีไร่ ผักหอมน้อย และผักชี ผักชีมีชื่อเรียกหลายชนิดแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก เช่น ภาคเหนือเรียกว่า ผักหอมป้อม และผักหอมผอม ภาคอีสานเรียกว่า ผักหอมน้อย และที่นครพนมเรียกว่า ผักหอม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า คอร์เรียนเดอร์ (Coriander) ไชนีสพาสย์เลย์ (Chinese Parsley) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คอร์เรียนดรัม ซาติวัม (Coriandrum sativum L.) จัดอยู่ในวงศ์ อัมเบลลิฟีรี้ (Umbelliferae) ผักชีเป็นพืชผักสวนครัว ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนของ ใบ ก้าน ราก โดยนิยมนำมาบริโภคเป็นผักสด และใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิด และยังช่วยทำให้อาหารมีกลิ่นหอม รสชาติดีอีกด้วย "ผักชี" มีคุณค่าทางโภชนาการคือใบสด ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใย ฟอสฟอรัส เบต้าเคโรทีนผล หรือลูกผักชี มีน้ำมันหอมระเหย(1.8%)ประกอบด้วยสารไลนาโลออล (Linalool) เป็นส่วนใหญ่ มีน้ำมันไม่ระเหย 13% มีสารสำคัญชื่อโคริแอนดรอล (coriandrol) มีเทนนิน และแคลเซียมออกซาเลต และมีสารเอสโตรเจน (plant estrogen) ใบผักชี มีสรรพคุณในทางเป็นสมุนไพรคือ จะใชัในการช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้ถนอมอาหารลูกผักชี แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นหัด แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลเตรียมน้ำมันผักชีซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย หากถูกผิวนานๆอาจระคายเคืองได้ราก เป็นกระสายยา กระทุ้งพิษไข้หัว เหือดหัด อีสุกอีใส อีดำอีแดง
7. มะนาว
ประโยชน์ของมะนาว มะนาวเป็นผลไม้พื้นๆที่ใช้บริโภคกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่ามะนาวลูกเล็กๆนั้น มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆได้มากมายหลายโรคด้วยกัน ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่ใช้มะนาวรักษาโรค ประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น มาเลเซีย จีน และอินเดีย เขาก็ใช้มะนาวกัน ประเทศเพื่อนบ้านที่ไกลออกไป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศแถบอเมริกาตะวันตกก็ใช้มะนาวแก้ไอและรักษาโรคอื่นๆเช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของมะนาวในแง่การนำมาใช้เป็นสมุนไพร มีดังนี้
1. แก้ไอออกเลือด (ไอมีเลือดปน) - ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา มะนาว 4 ลูก เกลือ 1 ช้อน หรือประมาณ 3-4 เม็ด ผสมให้เข้ากันดี ให้มีรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใช้จิบทุกครั้งที่ไอ -ใช้มะนาว 108 ใบ เบี้ยจั๊กจั่น 11 ตัว ปูนขาวหนักประมาณ 4 บาท วิธีทำ คั้นน้ำมะนาว ใส่เบี้ยจั๊กจั่นและปูนขาวปนกัน ดองประมาณ 3 คืน รับประทานครั้งละจอกชา แก้ไอออกเลือดดี
2. ต่อมทอนซิลอักเสบ เอาน้ำมะนาว น้ำผึ้งและปูนขาวผสมดื่ม แก้ทอนซิลอักเสบ
3.แก้ซาง,ตุ่มในคอเด็ก,เสมหะ - เมล็ดมะนาวขับเสมหะแก้โรคซางของเด็ก แก้เม็ดยอดในปากโดยเอาเม็ดมะนาวเผาไฟ บดให้ละเอียด ใช้น้ำมะนาวหรือรากของมะนาวฝนกันน้ำเป็นกระสาย ผสมเข้าด้วยกัน แล้วกวาดซางเด็ก - ให้เอาน้ำมะนาว 1 ช้อนชา แล้วเอารากมะนาวฝนให้ข้นดี แล้วจึงเอาไปล้วงคอเด็กสัก 2-3 ครั้งก็หาย - ใช้เม็ดมะนาวเคี้ยวกิน ขับเสมหะ ใช้ติดต่อกัน 7 วัน ได้ผลดี
4. แก้เสียงแหบแห้ง - มะนาวทำให้เสียงไม่แหบแห้ง ตื่นตอนตอนเช้าทุกครั้งให้ผ่ามะนาวครึ่งหนึ่ง จิ้มเกลือบีบน้ำลงคอกลืนกิน ทำทุกเช้าทุกวัน ทำให้เสียงไม่แหบแห้ง
5. ก้างติดคอ - เมื่อก้างปลาติดคอ เอามะนาว 1 ลูกคั้น เอาแต่น้ำ เติมเกลือ น้ำตาลนิดหน่อยกรอกลงไปให้ตรงก้างที่ติดคอ อมไว้สักครู่ แล้วจึงค่อยกลืน ก้างจะอ่อนตัวหลุดลงไปในกระเพาะ - ก้างปลาติดคอซึ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อกลืนน้ำลายจะทำให้รำคาญเท่านั้น ให้ผ่ามะนาวแล้วนำมาอมไว้ในปาก อมจนรู้สึกรสเปรี้ยวของมะนาวเจือจางสัก 2-3 หน จะทำให้ก้างหลุดออกไปได้
ที่มา : https://sites.google.com/site/foodthailandja/prawati-phanch-1
ที่มา : https://sites.google.com/site/foodthailandja/prawati-phanch-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น